สหภาพยุโรป ประกาศเผยแพร่กฎหมายเพื่อปรับปรุงระเบียบสำหรับแบตเตอรี่ที่วางจำหน่ายในสหภาพยุโรป
ที่มา : สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ กระทรวงพาณิชย์
ด้วย เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2563 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เผยแพร่ข้อเสนอร่างกฎหมายเพื่อปรับปรุงระเบียบในการกำหนดมาตรการสำหรับการวางจำหน่ายแบตเตอรี่ในสหภาพยุโรป และเมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 รัฐสภายุโรปเต็มคณะได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวอย่ำงเป็นทางการ และเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2566 คณะมนตรีแห่งสหภาพฯ ได้ให้ความเห็นชอบร่างกฎหมายฯ ดังกล่าว นั้น
เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2566 สหภาพฯ ได้เผยแพร่กฎหมายเพื่อปรับปรุงระเบียบสำหรับแบตเตอรี่ที่วำงจำหน่ายในสหภาพฯ ภายใต้ Regulation (EU) 2023/1542 of the European Parliament and of the Council of 12 July 2023 concerning batteries and waste batteries, amending Directive 2008/98/EC and Regulation (EU) 2019/1020 and repealing Directive 2006/66/EC
(https://eur-lex.europa.eu/eli/reg/2023/1542/oj)
โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 17 สิงหาคม 2566 และใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 เว้นแต่บางมาตราที่อาจมีวันใช้บังคับโดยเฉพาะ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้
1. สาระสำคัญของกฎหมาย: มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดเงื่อนไขการวางจำหน่ายแบตเตอรี่ในสหภาพฯ โดย
1) ครอบคลุมตลอดวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ทุกประเภทที่จำหน่ายในสหภาพฯ อาทิ แบตเตอรี่พกพา แบตเตอรี่สำหรับยานยนต์ทั่วไป (SLI) แบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะขนาดเบา (LMT) แบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า (EV) และสำหรับภาคอุตสาหกรรม
2) กำหนดเงื่อนไขเข้มงวดสำหรับความยั่งยืน ประสิทธิภาพและความทนทาน อาทิ carbon footprint declaration ฉลาก และ Digital Passport สำหรับแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า แบตเตอรี่สำหรับยานพาหนะขนาดเบา และแบตเตอรี่อุตสาหกรรมที่ชาร์จไฟใหม่ได้ ที่มีความจุเกิน 2 kWh
3) แบตเตอรี่พกพาต้องออกแบบให้ผู้บริโภคสามารถถอดและเปลี่ยนได้เองภายในปี 2570
4) กำหนดให้มีฉลาก (ภายในปี 2569) และ QR code (ภายในปี 2570) เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพและประสิทธิภาพ ความทนทาน ส่วนประกอบทางเคมี และสัญลักษณ์การแยกเก็บขยะ
5) ผู้วางจำหน่ายแบตเตอรี่ในสหภาพฯ ยกเว้น SMEs ต้องมีนโยบายการตรวจสอบย้อนกลับ (Due Diligence) ที่สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศเพื่อจัดการความเสี่ยงด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการจัดหา การดำเนินการ และการค้าวัตถุดิบสำหรับแบเตอรี่
6) กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บขยะแบตเตอรี่พกพาที่ร้อยละ 45 ร้อยละ 63 และร้อยละ 73 ภายในปี 2566 ปี 2570 และปี 2573 ตำมลำดับ
7) กำหนดเป้าหมายการจัดเก็บขยะแบตเตอรี่ LMT ที่ร้อยละ 51 และร้อยละ 61 ภายในปี 2571 และปี 2574 ตามลำดับ
8) กำหนดเป้าหมายการเก็บลิเธียมจากขยะแบตเตอรี่ร้อยละ 50 และร้อยละ 80 ภายในปี 2570 และปี 2574 (โดยสามารถปรับเปลี่ยนเป้าหมายได้ตามการพัฒนาเทคโนโลยีและสถานการณ์ตลาดผ่านกฎหมายลำดับรอง)
9) กำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำในการนำวัตถุดิบกลับมาใช้ใหม่ (reused) สำหรับการผลิตแบตเตอรี่ SLI และ EV ใหม่ ได้แก่ โคบอลต์ (ร้อยละ 16) ตะกั่ว (ร้อยละ 85) ลิเธียม (ร้อยละ 6) และนิกเกิล โดยต้องมีเอกสารแสดงส่วนประกอบที่รีไซเคิล
10) กำหนดเป้าหมายสำหรับประสิทธิภาพในการรีไซเคิลแบตเตอรี่นิกเกิลและแคดเมียม ร้อยละ 80 และแบตเตอรี่ประเภทอื่น ร้อยละ 50 ภายในสิ้นปี 2568 (ร้อยละ 6)
11) การเก็บขยะแบตเตอรี่ LMT EV และ SLI ไม่คิดค่าใช้จ่ายจากผู้บริโภค
12) คณะกรรมาธิการฯ จะประเมินว่าจะลดการใช้แบตเตอรี่พกพาที่ไม่สามารถชาร์จใหม่ได้สำหรับการใช้งานทั่วไป
หรือไม่ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2573
2. ความเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์
2.1 การปรับปรุงระเบียบเกี่ยวกับการวางจำหน่ายแบตเตอรี่ในสหภาพยุโรปเป็นครั้งแรกที่สหภาพฯ ออกกฎหมายภายใต้นโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ครอบคลุมทั้งวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างการทำงานของตลาดภายในสหภาพฯ ส่งเสริมเศรษฐกิจหมุนเวียน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมตลอดทุกขั้นตอนของวงจรชีวิตของแบตเตอรี่ ทำให้แบตเตอรี่ใช้งานได้ดี ปลอดภัยขึ้น และถอดเปลี่ยนได้ง่ายขึ้น สนับสนุนเป้าหมายในการสร้างอุตสาหกรรมรีไซเคิลของสหภาพฯ ที่แข็งแกร่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับลิเธียม โคบอลต์ และนิกเกิล ซึ่งถูกบรรจุอยู่ในรายการวัตถุดิบสำคัญของสหภาพฯ ภายใต้ร่างกฎหมายวัตถุดิบสำคัญซึ่งเผยแพร่เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 เพื่อกระจายและเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงงโซ่อุปทานของวัตถุดิบสำคัญ รวมทั้งการกำหนดเพดานการขุดเจาะ การกำหนดเป้าหมายการรีไซเคิลวัตถุดิบสำคัญดังกล่าว และการกำหนด
เพดานการนำเข้าวัตถุดิบสำคัญจากประเทศใดประเทศหนึ่ง
2.2 ในปี 2565 สหภาพฯ มีการนำเข้าสินค้าแบตเตอรี่ (พิกัด 85068080) มูลค่า 48 ล้านยูโร ประเทศคู่ค้าหลัก อาทิ จีน (ร้อยละ 75) สหรัฐฯ (ร้อยละ 7) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 6) ญี่ปุ่น (ร้อยละ 2.5) ฮ่องกง (ร้อยละ 2.3) อินเดีย (ร้อยละ 1.6) เวียดนาม (ร้อยละ 1.2) ไต้หวัน (ร้อยละ 0.8) สิงคโปร์ (ร้อยละ 0.6)
สหภาพฯ มีการส่งออกสินค้าแบตเตอรี่ มูลค่า 30 ล้านยูโร ไปยังประเทศคู่ค้า อาทิ ไต้หวัน (ร้อยละ 16) สหรัฐฯ
(ร้อยละ 14) สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 10) สวิตเซอร์แลนด์ (ร้อยละ 7) สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ร้อยละ 6) บราซิล
(ร้อยละ 5) คิวบา (ร้อยละ 3) ยูเครน (ร้อยละ 2.6) นอร์เวย์ (ร้อยละ 2.5) ตุรกี (ร้อยละ 2)
2.3 สหภาพฯ มีการนำเข้าสินค้าแบตเตอรี่จากไทยเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา จาก 19,327 ยูโร เป็น 32,538 ยูโร และ 65,373 ยูโร ในปี 2563 ปี 2564 และปี 2565 ตามลำดับ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 0.04 ร้อยละ 0.07 และร้อยละ 0.13 ของการนำเข้าสินค้าดังกล่าวของสหภาพฯ ขณะที่สหภาพฯ มีการส่งออกสินค้าดังกล่าวมายังไทยลดลงจาก 36,506 ยูโร เป็น 11,923 ยูโร และ 13,763 ยูโร คิดเป็นสัดส่วนการส่งออกร้อยละ 0.15 ร้อยละ 0.05 และร้อยละ 0.05 ตามลำดับ
2.4 ผู้ประกอบการที่ส่งงออกสินค้าแบตเตอรี่หรือสินค้าที่่มีการใช้แบตเตอรี่่มายังสหภาพฯ อาจพิจารณาศึกษากฎหมายดังกล่าว นโยบาย ยุทธศาสตร์ และร่างกฎหมายอื่นที่มีความเชื่อมโยงกัน อาทิ แผนปฏิบัติการเศรษฐกิจหมุนเวียน ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมใหม่ และยุทธศาสตร์การกำหนดมาตรฐาน (Standardisation) ร่างกฎหมายการตรวจสอบตลอดห่วงโซ่อุปทานของธุรกิจ ร่างกฎหมาย Ecodesign เพื่อเตรียมความพร้อมในการพัฒนาสินค้าและออกแบบผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบฯ ของสหภาพฯ ต่อไป