สหภาพยุโรปเสร็จสิ้นกระบวนการออกกฎหมาย Chips Act

สหภาพยุโรปเสร็จสิ้นกระบวนการออกกฎหมาย Chips Act

สหภาพยุโรปเสร็จสิ้นกระบวนการออกกฎหมาย Chips Act

ที่มา: สำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์  กระทรวงพาณิชย์

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอร่างกฎหมาย European Chips Act เพื่อความมั่นคงของอุปทาน ความยืดหยุ่น และความเป็นผู้นำของสหภาพฯ ในด้านเทคโนโลยีและการใช้งานอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (เซมิคอนดักเตอร์) และล่าสุด เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2566 คณะมนตรีแห่งสหภาพฯ ได้ให้ความเห็นชอบต่อร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวอย่างเป็นทางการ ก่อนการประกาศใน Official Journal เพื่อใช้บังคับต่อไป

1. ความเป็นมา:

เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2563 คณะกรรมาธิการฯ ได้ออกยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมยุโรปฉบับใหม่ (a new industrial strategy for Europe) เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยุโรปให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านดิจิทัลและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยระบุภาคส่วนที่เน้นการพึ่งพาประเทศที่สามซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะขาดแคลนสินค้าในสหภาพฯ

ต่อมาในปลายปี 2563 ประเทศสมาชิกสหภาพฯ รวม 22 ประเทศได้ร่วมลงนามในแถลงการณ์ร่วมเกี่ยวกับเทคโนโลยีเครื่องประมวลผลและอุปกรณ์กึ่งตัวนำ เพื่อสนับสนุนห่วงโซ่คุณค่าและเสริมสร้างความสามารถในการผลิตของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในสหภาพฯ

และในปี 2564 คณะกรรมาธิการฯ ได้เปิดตัวพันธมิตรอุตสาหกรรมเกี่ยวกับเครื่องประมวลผลและอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (Industrial Alliance on Processors and Semiconductors) เพื่อพิจารณาช่องว่างการผลิตอุปกรณ์ดังกล่าวและเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการเติบโตของผู้ประกอบการทุกขนาด และนาง von der Leyen ประธานคณะกรรมาธิการฯ ได้ออกแถลงการณ์ “State of the Union” ซึ่งระบุถึงยุทธศาสตร์อุปกรณ์กึ่งตัวนำ เพื่อสร้างระบบนิเวศสำหรับอุปกรณ์ดังกล่าวทั้งการผลิต การวิจัย การออกแบบ และการทดสอบ โดยได้กำหนดการออกร่างกฎหมาย European Chips Act ในส่วนของ A Europe fit for digital ageในแผนงำนปี 2565 ของคณะกรรมาธิการฯ

2. สาระสำคัญของร่างกฎหมายฯ :

มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแข่งขัน ความยืดหยุ่น และช่วยในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและสีเขียวของสหภาพฯ โดยมุ่งเพิ่มสัดส่วนการตลาดของสหภาพฯ ในตลาดโลกจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 20 ภายในปี 2573 ประกอบด้วย

1) โครงการ Chips for Europe ซึ่งเป็นการระดมเงินทุนเพื่อเสริมสร้างการวิจัย การพัฒนา และนวัตกรรม จำนวน 43 พันล้านยูโรจากภาครัฐและเอกชน โดยเงินทุนจำนวน 3.3 พันล้านยูโรจะเป็นการจัดสรรจากโครงการ Horizon Europe สำหรับการวิจัยและนวัตกรรม และ Digital Europe สำหรับการสร้างศักยภาพ โดยดำเนินการผ่าน Chips Joint Undertaking ซึ่งเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐ (ระดับสหภาพฯ และประเทศสมาชิกฯ) และภาคเอกชน เพื่อเสริมสร้างการวิจัย การพัฒนาและนวัตกรรมที่มีอยู่ สำหรับการวางจำหน่ายเครื่องมืออุปกรณ์กึ่งตัวนำขั้นสูง การนำร่องสำหรับการสร้างต้นแบบ การทดสอบและการทดลองอุปกรณ์ใหม่สำหรับการใช้งานในชีวิตจริง เพื่อฝึกอบรมและพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับระบบนิเวศและห่วงโซ่คุณค่าของอุปกรณ์กึ่งตัวนำ

2) กรอบแผนงานใหม่เพื่อสร้างความมั่นคงของอุปทาน โดยจะดึงดูดการลงทุนและเพิ่มความสามารถในการผลิต ซึ่งจะจำเป็นสำหรับกำรพัฒนาอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่เป็นนวัตกรรมโหนดขั้นสูง ใหม่ และประหยัดพลังงาน โดยรวมถึงการจัดตั้ง 'first-of-a-kind' semiconductor manufacturing facility ซึ่งจะรวมถึงการผลิตอุปกรณ์/เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำ โดยสถานประกอบการดังกล่าวจะมีีส่วนในการสร้างความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทานอุปกรณ์กึ่งตัวนำในตลาดสหาพฯ และจะได้รับประโยชน์จากการเร่งดำเนินการในการขอใบอนุญาต นอกจากนี้ ศูนย์การออกแบบอุปกรณ์กึ่งตัวนำที่ยกระดับความสามารถของสหภาพฯ ด้านนวัตกรรมการออกแบบอุปกรณ์กึ่งตัวนำอาจได้รับสิทธิเป็นศูนย์อัจฉริยะที่จะได้รับประโยชน์ภายใต้โครงการ Chips for Europe ได้

3) กลไกการประสานงานระหว่างคณะกรรมาธิการฯ และประเทศสมาชิกฯ เพื่อติดตามอุปทานของอุปกรณ์กึ่งตัวนำประมาณการอุปสงค์ และคาดการณ์การขาดแคลน รวมทั้งตรวจสอบห่วงโซ่คุณค่าของอุปกรณ์กึ่งตัวนำ โดยรวบรวมข้อมูลจากผู้ประกอบการและประเมินภาวะวิกฤต โดยจะแก้ปัญหาโดยใช้มาตรการจาก “กล่องเครื่องมือฉุกเฉิน” อย่างรวดเร็วและเด็ดขาด รวมทั้งเน้นย้ำความสำคัญของความร่วมมือระหว่างประเทศ และการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างระบบนิเวศของอุปกรณ์กึ่งตัวนำ

3. ขั้นตอนต่อไป:

โดยหลังจำกที่ประธานรัฐสภายุโรป และประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพฯ ลงนามในร่ำงกฎหมายฯ ดังกล่าว สหภาพฯ จะเผยแพร่ร่างกฎหมายฯ ใน Official Journal ซึ่งจะมีผลใช้บังคับในวันที่ 3 นับถัดจากวันที่ประกาศ

4. ความเห็นและข้อมูลเพิ่มเติมของสำนักงานพาณิชย์ในต่างประเทศ ณ กรุงบรัสเซลส์ 

4.1 ชิปเป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ประกอบด้วยอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (เซมิคอนดักเตอร์: วัสดุที่อนุญาตหรือปิดกั้นการไหลของกระแสไฟฟ้ำ) และเป็นอุปกรณ์จำเป็นสำหรับผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวันที่หลากหลาย อาทิ บัตรเครดิต สมาร์ทโฟน รถยนต์ โดยคาดว่า การพัฒนา AI เครือข่าย 5G และ Internet of Things จะทำให้ความต้องการและโอกาสทางการตลาดสำหรับชิปและอุปกรณ์กึ่งตัวนำเติบโตขึ้นอย่างมาก

4.2 วิกฤตโควิด-19 ซึ่งทำให้ภาคอุตสาหกรรมและภาคยุทธศาสตร์อื่น อาทิสุขภาพ กลาโหม และพลังงาน เผชิญกับภาวะชะงักงันของห่วงโซ่อุปทาน และการขาดแคลนอุปทาน แสดงให้เห็นว่า สหภาพฯ มีการพึ่งพาชิปที่ผลิตจากประเทศที่สามมากเกินไป ดังนั้น การออกกฎหมาย Chips Act ดังกล่าว จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความอ่อนไหวของสหภาพฯ และการพึ่งพาประเทศที่สาม ในขณะเดียวกันก็เสริมสร้างอุตสาหกรรมชิปของสหภาพฯ โดยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจในอนาคตและสร้างงานที่มีคุณภาพดี เพื่อยกระดับความมั่นคงของอุปทาน ความยืดหยุ่น และอำนาจอธิปไตยทางเทคโนโลยีชิปของสหภาพฯ ซึ่งสอดรับกับนโยบายการเปลี่ยนผ่ำนสู่สีเขียวและดิจิทัล ทั้ง

ด้านอุตสาหกรรมในการจัดการกับภาคส่วนเทคโนโลยีที่มีการพึ่งพาสูง และด้านการค้า Open strategic autonomy เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนสินค้า

4.3 ข้อมูลจาก Global Trade Atlas ในปี 2565 ประเทศผู้ส่งออกสินค้าอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (พิกัด 8541) รายใหญ่ ได้แก่ จีน (63.01 พันล้านยูโร) ฮ่องกง (17.01 พันล้านยูโร) สิงคโปร์ (12.50 พันล้านยูโร) มาเลเซีย (8.99 พันล้านยูโร) ญี่ปุ่น (8.77 พันล้านยูโร) สหรัฐฯ (7.76 พันล้านยูโร) สหภาพฯ (7.42 พันล้านยูโร) เวียดนาม (5.38 พันล้านยูโร) เกาหลีใต้ (4.36 พันล้านยูโร) ไต้หวัน 3.97 (พันล้านยูโร) ไทย (3.24 พันล้านยูโร) เป็นต้น

ขณะที่ประเทศผู้นำเข้าสินค้าดังกล่าวรายใหญ่ ได้แก่ สหภาพฯ (31.46 พันล้านยูโร) จีน (31.16 พันล้านยูโร) ฮ่องกง (18.022 พันล้านยูโร) สหรัฐฯ (16.45 พันล้านยูโร) เม็กซิโก (6.18 พันล้านยูโร) สิงคโปร์ (6.10 พันล้านยูโร) บราซิล (5.87 พันล้านยูโร) เวียดนาม (5.76 พันล้านยูโร) อินเดีย (5.73 พันล้านยูโร) เกาหลีใต้ (5.67 พันล้านยูโร) ญี่ปุ่น (5.02 พันล้านยูโร) เป็นต้น

4.4 ข้อมูลจาก Global Trade Atlas ในปี 2565 แหล่งนำเข้าสินค้าอุปกรณ์กึ่งตัวนำ (พิกัด 8541) จากประเทศที่สามของสหภาพฯ ได้แก่ จีน (25.59 พันล้านยูโร) มาเลเซีย (1.61 พันล้านยูโร) ญี่ปุ่น (0.90 พันล้านยูโร) สหรัฐฯ (0.66 พันล้านยูโร) ไต้หวัน (0.60 พันล้านยูโร) ฟิลิปปินส์ (0.48 พันล้านยูโร) ไทย (0.25 พันล้านยูโร) เกาหลีใต้ (0.19 พันล้านยูโร) สวิตเซอร์แลนด์ (0.19 พันล้านยูโร) เวียดนาม (0.19 พันล้านยูโร) สิงคโปร์ (0.18 พันล้านยูโร) เป็นต้น

และสหภาพฯ มีการส่งออกสินค้าดังกล่ำวไปยังประเทศที่สาม ได้แก่ จีน (1.5 พันล้านยูโร) สหรัฐฯ (0.81 พันล้านยูโร) ฮ่องกง (0.71 พันล้านยูโร) มาเลเซีย (0.67 พันล้านยูโร) สิงคโปร์ (0.62 พันล้านยูโร) สหราชอาณาจักร (0.55 พันล้านยูโร) สวิตเซอร์แลนด์ (0.42 พันล้านยูโร) ไต้หวัน (0.36 พันล้านยูโร) ตุรกี (0.21 พันล้านยูโร) โมร็อคโค (0.16 พันล้านยูโร) อิสราเอล (0.13 พันล้านยูโร) เป็นต้น

4.5 อย่ำงไรก็ดีการผลิตอุปกรณ์กึ่งตัวนำต้องอาศัยวัตถุดิบสำคัญ เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2566 คณะกรรมาธิการฯ จึงได้เผยแพร่ร่างกฎหมายว่าด้วยวัตถุดิบสำคัญ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและโอกาสของตลาดร่วมของสหภาพฯ และพันธมิตรนอกสหภาพฯ เพื่อกระจายและเพิ่มความยืดหยุ่นของห่วงโซ่อุปทานของวัตถุดิบสำคัญ รวมทั้งปรับปรุงความสามารถของสหภาพฯ ในการติดตามและลดความเสี่ยงของการชะงักงันของห่วงโซ่อุปทานและเพิ่มการหมุนเวียนและความยั่งยืน โดยร่างกฎหมายฯ ดังกล่าวจะกำหนดเครื่องมือสำหรับสหภาพฯ ในการเข้าถึงห่วงโซ่อุปทานวัตถุดิบสำคัญที่มั่นคงและยั่งยืน โดย

1) กำหนดรายการวัตถุดิบสำคัญที่จำเป็นต่อเทคโนโลยีในการเปลี่ยนผ่านสู่สีเขียวและดิจิทัล โดยกำหนดเพดานสำหรับความสามารถในการผลิตวัตถุดิบดังกล่าวในสหภาพฯ และการกระจายแหล่งนำเข้า อาทิ การขุดเจาะไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 ของการบริโภค

ในสหภาพฯ การแปรรูปไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของการบริโภคในสหภาพฯ การรีไซเคิลไม่น้อยกว่าร้อยละ 15 ของการบริโภคในสหภาพฯ และการแปรรูปขั้นใดก็ตามจากประเทศเดียวกันไม่เกินร้อยละ 65 ของการบริโภคในสหภาพฯ

2) สร้างห่วงโซ่อุปทานของวัตถุดิบสำคัญที่มั่นคงและยืดหยุ่น โดยลดภาระการบริหารและขั้นตอนการขออนุญาตสำหรับโครงการในสหภาพฯ และเพิ่มโอกาสการเข้าถึงเงินทุน

3) ติดตามห่วงโซ่อุปทานของวัตถุดิบสำคัญและประสานประเทศสมาชิกฯ เพื่อติดตามวัตถุดิบสำคัญคงเหลือ

4) ลงทุนในการวิจัย นวัตกรรมและทักษะ โดยจัดตั้งหุ้นส่วนด้านทักษะและ Raw Materials Academy

5) เพิ่มความพยายามในการปรับปรุงการพัฒนาอย่างยั่งยืนของห่วงโซ่มูลค่าวัตถุดิบที่สำคัญทั้งในและนอกสหภาพฯ

6) การร่วมมือกับประเทศที่สามเพื่อกระจายแหล่งนำเข้า โดยเฉพาะการเป็นหุ้นส่วนภายใต้ Global Gateway 7) จัดตั้ง Critical Raw Materials Club สำหรับประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน (like-minded) ขยายเครือข่ำย Sustainable Investment Facilitation Agreements and Free Trade Agreements รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ โดยปัจจุบันร่างกฎหมายฯ อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะมนตรีแห่งสหภาพฯ และรัฐสภายุโรป ก่อนการหารือสามฝ่าย

4.6 ในความตกลงการค้าเสรีที่สหภาพฯ จัดทำกับประเทศที่สามในช่วงหลัง อาทิ นิวซีแลนด์ ชิลี ออสเตรเลีย ได้มีข้อบทเฉพาะสำหรับวัตถุดิบ (Raw Materials Chapter) รวมทั้งการจัดทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ในเรื่องนี้กับแคนาดา คาซัคสถาน นามิเบีย และยูเครน นอกจากนี้ ยังขยายฐานของหุ้นส่วนวัตถุดิบสำคัญกับนอร์เวย์ กรีนแลนด์ไปถึงสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก รวันดา และอาร์เจนตินาด้วย

4.7 โดยที่ไทยเป็นหนึ่งในผู้ส่งออกสำคัญของสินค้าอุปกรณ์กึ่งตัวนำ รวมทั้งจะมีการเจรจา FTA กับสหภาพฯ ในเร็วๆ นี้ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องจึงควรติดตามพัฒนาการในประเด็นดังกล่าวอย่างใกล้ชิด รวมทั้ง พัฒนาการของนโยบาย/ร่างกฎหมายอื่นๆ ของสหภาพฯ ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงและส่งผลกระทบต่อการขยายการค้าและการลงทุนสินค้าดังกล่าวกับสหภาพฯ

 

ข่าวอื่นๆ