ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยพฤติกรรมการใช้จ่ายของผู้บริโภคในวันมาฆบูชา ปี 2568 จากกลุ่มตัวอย่าง 1,250 คน ทั่วประเทศ พบว่า ภาพรวมผู้บริโภคส่วนใหญ่ ยังมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายในช่วงเทศกาลวันมาฆบูชา คาดว่าจะมีเม็ดเงินหมุนเวียนประมาณ 2,500 ล้านบาท สูงสุดในรอบ 4 ปี หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด – 19 คลี่คลายลง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 แต่ยังขยายตัวต่ำกว่าปี 2560 ที่มีมูลค่าการจับจ่ายใช้สอยอยู่ที่ 3,000 ล้านบาท ส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมทำบุญมากกว่าการจับจ่ายใช้สอยในการเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นวันหยุดกลางสัปดาห์เงินสะพัดจากการการท่องเที่ยวจึงไม่คึกคัก
สำหรับ 5 อันดับ แผนการใช้จ่ายช่วงเทศกาลตรุษจีน ได้แก่
• ไปเวียนเทียน 52.8%
งบประมาณเฉลี่ย 274.8 บาท
• ตักบาตร 50.7%
งบประมาณเฉลี่ย 234.5 บาท
• ทำบุญ 42.8%
งบประมาณเฉลี่ย 694.3 บาท
• ปล่อยนก ปล่อยปลา ไถ่ชีวิตสัตว์ 33.4%
งบประมาณเฉลี่ย 399.2 บาท
• ซื้อสังฆภัณฑ์ 30.8%
งบประมาณเฉลี่ย 698.3 บาท
รับฟังการถ่ายทอดสดย้อนหลัง https://www.facebook.com/utccnews/videos/570107432848286?locale=th_TH
ดาวน์โหลดเอกสาร https://cebf.utcc.ac.th/upload/poll_file/file_th_194d06y2025.pdf
ที่มา : ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
เรียบเรียงและจัดทำโดย ฝ่ายนโยบายยุทธศาสตร์ หอการค้าไทย