โครงการจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย
หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ตระหนักดีว่าในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ผู้ประกอบการไม่ว่าจะเป็นกิจการขนาดเล็ก ขนาดกลางหรือขนาดใหญ่หากได้นำหลักบรรษัทภิบาล(Good Corporate Governance) มาใช้ในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างเหมาะสม ก็จะมีผลต่อความเจริญก้าวหน้าขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เนื่องจากหลักบรรษัทภิบาลเป็นแนวทางที่จะมุ่งส่งเสริมการปฏิบัติเพื่อความเป็นเลิศขององค์กรซึ่งมุ่งเน้นการสร้างความเป็นธรรม ความโปร่งใส และความมีมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ซื้อ ผู้ขาย ผู้ถือหุ้น พนักงาน เจ้าหนี้ แล้ว ยังเป็นการเพิ่มความน่าเชื่อถือของธุรกิจที่มีต่อสังคมและภาครัฐ รวมทั้งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในอีกทางหนึ่งด้วย
ในฐานะที่หอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นองค์กรหลักของภาคเอกชนที่มีสมาชิกผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและภูมิภาคเป็นจำนวนมาก ในระยะที่ผ่านมาได้ให้ความสำคัญในการส่งเสริมให้ผู้ประกอบการทั้งในส่วนกลางและในภูมิภาคดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ โดยได้จัดตั้งคณะกรรมการจรรยาบรรณ หอการค้าไทย ในปี 2544 ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นคณะกรรมการส่งเสริมจรรยาบรรณและต่อต้านคอร์รัปชัน หอการค้าไทย และจัดทำคู่มือจรรยาบรรณสำหรับกรรมการและเจ้าหน้าที่และหลักบรรษัทภิบาลสำหรับสมาชิกหอการค้าไทยได้มีแนวปฏิบัติอันดีงามเป็นแบบแผนอันเดียวกัน เพื่อคงไว้ซึ่งเกียรติ ศักดิ์ศรีและความเชื่อมั่นที่สาธารณชนที่มีภาคธุรกิจเอกชนไทยมากยิ่งขึ้น ต่อมาในปี 2546 คณะกรรมการฯ ได้นำหลักจรรยาบรรณธุรกิจมาเป็นแนวทางในการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับธุรกิจมวลสมาชิกหอการค้าไทยและหอการค้าทั่วประเทศ จึงได้จัดโครงการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย ขึ้น ถึงปัจจุบัน นับเป็นปีที่ 14เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่ภาคธุรกิจที่ตระหนักถึงการนำหลักจรรยาบรรณไปใช้ในการบริหารจัดการธุรกิจอย่างแท้จริง


วัตถุประสงค์
เพื่อส่งเสริมให้บริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ อันก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาองค์กรให้ได้รับการยอมรับและเชื่อถือมากยิ่งขึ้น และ เพื่อประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ผลงานขององค์กรที่ได้รับการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย ให้เป็นที่รู้จักแพร่หลายต่อสาธารณะอย่างกว้างขวาง และส่งเสริมให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้ประกอบการอื่นสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการสร้างมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ดีขององค์กรต่อไป
.jpg)
หลักเกณฑ์การพิจารณา
1. การให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสสามารถตรวจสอบได้
3. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภคและคู่ค้า
4. การรักษาความสุจริต
5. กิจกรรมที่ส่งเสริมจริยธรรม
6. กิจกรรมช่วยเหลือสังคม
7. การส่งเสริมการบำบัดและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
8. สิทธิเสรีภาพของบุคคล
9. การลดความเสี่ยงของกิจการ
10. มุ่งการส่งเสริมหลักการปฏิบัติอันเป็นเลิศในองค์กร
คุณสมบัติผู้สมัคร
•สมาชิกหอการค้าไทย และหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ
•สมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย
•สมาชิกของสมาคมการค้าที่เป็นสมาชิกสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย * 
•ผู้ประกอบการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ(mai)
•กิจการที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

.png)
ข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact
· ข้อตกลงคุณธรรม Integrity Pact:เป็นเครื่องมือที่พัฒนาโดยองค์กรเพื่อความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International : TI) วัตถุประสงค์ในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง ช่วยให้ภาครัฐมีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างประหยัด และมีประสิทธิภาพโดยข้อตกลงคุณธรรม สามารถปรับใช้กับการจัดซื้อจัดจ้างในหลายประเภท
· องค์ประกอบของข้อตกลงคุณธรรม
1) หน่วยงานภาครัฐ (Government Agency) :เปิดเผยข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติต่อผู้เสนอราคาอย่างเท่าเทียม และกำหนดให้ IP เป็นส่วนหนึ่งของ TOR
2) ผู้เข้าร่วมเสนอราคา (Supplier):ไม่ให้เงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด ปฏิบัติอย่างความโปร่งใสและเป็นธรรม และยินยอมให้ IP เข้าร่วมในทุกขั้นตอน
3) ผู้สังเกตการณ์ (Observer) : เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อ วางตัวเป็นกลาง มีสิทธิขอข้อมูลเอกสารที่เกี่ยวข้อง
· การคัดเลือกโครงการตามข้อตกลงคุณธรรม
หลักเกณฑ์การพิจารณาโครงการ
· โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นภารกิจหลักของหน่วยงาน
· โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่มีมูลค่าสูง
· โครงการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชนหรือเป็นที่สนใจของประชาชน
· เป็นโครงการที่ยังไม่ได้กำหนดร่างขอบเขตงาน (TOR)หรืออยู่ระหว่างจัดทำร่างขอบเขตงาน (TOR)
· ผู้สังเกตการณ์ : Observer
ผู้สังเกตการณ์ :เป็นบุคคลภายนอกจากสมาคมวิชาชีพต่างๆ โดยได้รับการคัดเลือกจากองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ซึ่งผู้สังเกตการณ์เป็นผู้เชี่ยวชาญ มีความรู้และประสบการณ์ที่จำเป็นต่อโครงการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ นั้นๆ โดยจะต้องมีความเป็นกลางและไม่เป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในโครงการจัดซื้อจัดจ้าง เข้าร่วมสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐตั้งแต่เริ่มต้นจนสิ้นสุดโครงการ
· คุณสมบัติของผู้สังเกตการณ์ Observer
1) มีคุณวุฒิ ความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์เหมาะสม
2) มีความเป็นอิสระ ไม่เป็นผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ ในพรรคการเมือง ไม่เป็นข้าราชการการเมือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิก วุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น
3) มีสัญชาติไทย และไม่เคยต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก
· การคัดเลือกผู้สังเกตการณ์ Observer
- การสรรหา โดยการคัดเลือกผู้ทรงคุณวุฒิ จากสมาคมวิชาชีพ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรม องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) และภาคประชาสังคม
- เปิดรับสมัครเป็นการทั่วไป โดยการเชิญชวนไปยังหน่วยงาน องค์กรต่าง ๆ
· แนวทางการปฏิบัติงานของผู้สังเกตการณ์
- ประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานเจ้าของโครงการ
- ศึกษาข้อมูลรายละเอียดโครงการ เช่น ขอบเขตงานโครงการ (TOR) เอกสารที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น
- เข้าสังเกตการณ์ในกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างรายงานผลการสังเกตการณ์
โครงการจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย
องค์กรยุคใหม่ ที่ต้องการความยั่งยืนของธุรกิจ ไม่ใช่เพียง แสวงหากำไร แต่องค์กรต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เพราะผู้บริโภคไม่ได้เลือกบริโภค เฉพาะในส่วนของราคาเพียงอย่างเดียว แต่ผู้บริโภคคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร
หลักบรรษัทภิบาลเป็นการสร้างความเป็นธรรม ความโปร่งใส และความมีมาตราฐานการปฏิบัติงานที่ดีต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ
รางวัลจรรยาบรรณดีเด่น หอการค้าไทย เป็นหนึ่งประการ ที่แสดงให้เห็นว่าองค์กรนั้น ๆ ได้ดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจตามหลักธรรมาภิบาล สร้างความน่าเชื่อถือ แก่ stakeholder ในสายธุรกิจ
ตลอด 14 ปี ที่หอการค้าไทย ได้ดำเนินโครงการประกาศเกียรติคุณจรรยาบรรณดีเด่น เพื่อเป็นการปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีให้กับธุรกิจมวลสมาชิกหอการค้าไทยและหอการค้าจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นการประกาศเกียรติคุณแก่ภาคธุรกิจที่ตระหนักถึงการนำหลักจรรยาบรรณไปใช้ในการบริหารจัดการอย่างแท้จริง
-TCC Best Award Hall Of Frame-

บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
(ได้รับประกาศเกียรติคุณปี 2559)
บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2527 โดยมติคณะรัฐมนตรีเพื่อ“ดูแลความมั่นคงด้าน
พลังงานและมีส่วนร่วมพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมไทย” จวบจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 31ปี บริษัทฯ กำหนด
วิสัยทัศน์ พันธกิจ และวัฒนธรรมของธุรกิจและพนักงานที่ยังคงแสดงถึงความมุ่งมั่นของบริษัทฯ ในการดำเนินธุรกิจอย่างมีความ
รับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย รวมถึงสังคมและประเทศชาติ ให้ความสำคัญต่อการเติบโตขององค์กรและยกระดับความ
เป็นเลิศในการบริหารจัดการสู่ระดับมาตรฐานโลก พร้อมน้อมนำ “ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ
ที่การได้มาซึ่งกำไรจะไม่เป็นการแสวงหากำไรจนเกินควร ตลอดจนคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างประหยัดและมีคุณภาพ การบริหารจัดการธุรกิจเพื่อให้
บรรลุถึงเป้าหมายทางธุรกิจในปี 2563
ปรัชญาในการบริหารองค์กร
“บางจากเป็นบริษัทไทยเล็กๆ ที่เกิดมาด้วยเป้าหมายยิ่งใหญ่ที่จะดูแลความมั่นคงด้านพลังงานและ
มีส่วนร่วมพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของสังคมไทย นับแต่ก่อตั้งในปี 2527 บางจากยังคงยึดมั่นในการพัฒนา
ธุรกิจที่มุ่งสร้างความสมดุลระหว่างมูลค่าทางธุรกิจและคุณค่าทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการน้อมนำ
“ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง” มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงาน พร้อมกับการสร้างนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาธุรกิจให้
เติบโตอย่างยั่งยืน”
Best Practice
.JPG)